โลตัสและการพัฒนาที่ยั่งยืน
โลตัส ในฐานะธุรกิจค้าปลีก มุ่งมั่นที่จะช่วยให้ลูกค้า ”รู้สึกดีดี ทุกวัน ที่โลตัส” ภายใต้พันธ สัญญาของเราในการเป็น SMART Community Center ศูนย์รวมการใช้ชีวิตแบบ อัจฉริยะของชุมชน ที่ช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายและสร้างความรู้สึกดีดี ผ่านกรอบกลยุทธ์ 4 ด้าน ได้แก่
- การเป็นศูนย์รวมอาหารและอาหารสดชั้นนำ
- การตอบโจทย์และมอบ ประสบการณ์แบบ SMART
- ความคุ้มค่าที่มากกว่าราคา พร้อมสิทธิพิเศษที่รู้ใจลูกค้ำ
- ความยั่งยืนในทุก ๆ วัน
ภายใต้ค่านิยม 3 ประโยชน์ของเครือ เจริญโภคภัณฑ์ ที่ให้ความสำคัญต่อการสร้าง ประโยชน์ให้ประเทศและประชาชนในสังคม ก่อนประโยชน์ของธุรกิจ โลตัส มุ่งมั่นในการขับ เคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและโปร่งใส ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ที่สร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของ เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีเป้าหมายด้านความยั่งยืน ทั้ง 15 เป้าหมาย ภายใต้ 3 เสาหลัก กล่าวคือ Heart, Health และ Home ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล กิจการ (ESG)
โลตัส ได้จัดทำการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของธุรกิจ (Materiality Assessment) และ กำหนดประเด็นสำคัญ 5 ด้าน ที่ครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) ได้แก่ การสนับสนุนการมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (Health & Well-being) การสร้างคุณค่าและประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม (Social Impact and Economic Contribution) ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Resilience) และ การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ (Responsible Supply Chain) โดยมีการ กำหนดยุทธศาสตร์แผนงานเชิงรุกและเป้าหมายที่สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงและ ผลกระทบเชิงบวกตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด พร้อมกับการรายงานและเปิดเผยข้อมูล ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงสาธารณชนทั่วไป
กรอบกลยุทธ์
ศูนย์รวมอาหารและ
อาหารสดชั้นนำ
ตอบโจทย์และมอบประสบการณ์
แบบ SMART
ความคุ้มค่าที่มากกว่าราคา
พร้อมสิทธิพิเศษที่รู้ใจลูกค้า
ความยั่งยืนในทุก ๆวัน
CPG Sustainable Framework
Heart
มุ่งมั่น... ทำธุรกิจเพื่อสังคมที่ยั่งยืน
การกำกับและดูแลกิจการ
>
สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน
>
การศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำ
>
การพัฒนาผู้นำและทรัพยากรบุคคล
>
ความปลอดภัยทาง ไซเบอร์และ การป้องกันข้อมูล
>
Health
มุ่งมั่น... ทำธุรกิจด้วยใจที่ยั่งยืน
สุขภาวะและสุขภาวะที่ดี
>
คุณค่าและการสร้างประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ
>
ความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึง โภชนาการ
>
การบริหารจัดการนวัตกรรม
>
การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย
>
Home
มุ่งมั่น... เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ
>
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
>
การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
>
การปกป้องระบบนิเวศและ ความหลากหลายทางชีวภาพ
>
การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
>
Climate Resilience
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งทางตรงและทางอ้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของเรา
Circular Economy
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการใช้ทรัพยาการอย่างมีความรับผิดชอบละยั่งยืน
Health&
Well-being
ส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีให้กับลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์และบริการทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์
Social Impact
&Economic
Contribution
ส่งเสริมการเติบโตและการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนในสังคม
Responsible
Supply Chain
สร้างความแน่ใจว่าห่วงโซ่อุปทาน เป็นไปอย่างมีความรับผิด ชอบในการดำเนินงานของเรา
-
การระบุประเด็น ด้านความยั่งยืนบริษัทฯ ยึดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน จากกรอบยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของ เครือเจริญโภคภัณฑ์ทั้ง 15 เป้าหมายในการระบุประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนิน ธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสีย ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้แก่• ประเด็นด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)• กรอบการรายงานความยั่งยืนสากล (Global Reporting Initiative: GRI)• ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: D.JSI)• แนวโน้มของโลก (Global Trends)•ประเด็นสำคัญอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
-
การประเมินและจัดลำดับ ความสำคัญประเด็น ด้านความยั่งยืนบริษัทฯ นำประเด็นความยั่งยืนสำคัญที่รวบรวมจากแหล่งข้อมูลมาคัดกรอง โดยได้รับการทบทวนจากที่ปรึกษา ประเด็นด้านความยั่งยืน พร้อมทั้งสำรวจความคิดเห็นและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ พนักงาน ลูกค้า ชุมชน พันธมิตรทางธุรกิจ ภาครัฐ เป็นต้น ผ่านการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถามเพื่อจัดลำดับความสำคัญประเด็น ด้านความยั่งยืนการทวนสอบความถูกต้องของ ประเด็นด้านความยั่งยืนบริษัทฯ ได้ทำการทวนสอบความถูกต้องของการประเมินและการจัดลำดับประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ จาก ความยั่งยืน ความคาดหวัง มุมมอง ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านความ ยั่งยืนขององค์กรต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อขอรับรองผลการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญทาง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ต่อคณะกรรมการบริหาร (Executive Comnittee : Ex.Com) ซึ่งได้รับความเห็น ชอบดังแสดงในเมทริกซ์ผลการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญผลการดำเนินงานปี 2565 สู่เป้าหมายความยั่งยืนปี 2573Heartมุ่งมั่น... ทำธุรกิจเพื่อสังคมที่ยั่งยืนการกำกับและดูแลกิจการการประเมินผลที่ได้รับการยอมรับของการดำเนินงานด้านการกำกับ ดูแลกิจการสิทธิมนุษยชนและ การปฏิบัติด้านแรงงานการประเมินผลจากกิจกรรมของ องค์กร และคู่ค้าโดยตรงที่มีความ เสี่ยงสูงการศึกษาและ การลดความเหลื่อมล้ำสนับสนุนโอกาสให้ประชาชนทุกเพศ ทุกวัยในการเข้าถึงการศึกษาที่มี คุณภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเสริมทักษะ
89,073 คน
เป้าหมายปี 2573: 150,000 คนการพัฒนาผู้นำและ ทรัพยากรบุคคลพนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรม และมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือ โครงการด้านความยั่งยืนทุกปีความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการป้องกันข้อมูลข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า
0
เป้าหมายปี 2573: ศูนย์Healthมุ่งมั่น... ทำธุรกิจด้วยใจที่ยั่งยืนสุขภาพและสุขภาวะที่ดีทุกการซื้อสินค้าของลูกค้า ต้องมี ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพและ สุขภาวะที่ดี หรืออาหารสดคุณภาพยอดขายสินค้าที่ส่งเสริมสุขภาพ และสุขภาวะที่ดีคุณค่าและการสร้าง ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน โดย เฉพาะกลุ่มเปราะบาง130,455 ราย
เป้าหมายปี 2573: 200,000 รายการบริหารจัดการนวัตกรรมสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรที่ได้รับ การขึ้นทะเบียน
1
เป้าหมายปี 2573: 4ความมั่นคงทางอาหาร และการเข้าถึงโภชนาการเด็ก ประชาชน และคนยากจนได้ รับโอกาสเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ388,229 คน
เป้าหมายปี 2573: 1 ล้านคนการสร้างความผูกพันกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสียจากการสำรวจHomeมุ่งมั่น... เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนการปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) (Scope1 และ Scope2)การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำลดปริมาณการนำน้ำมาใช้ต่อหน่วยรายได้ เทียบกับปีฐาน 2563ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนขยะอาหารที่ถูกนำไป ฝังกลบเป็นศูนย์ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนสำหรับสินค้าการปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิด ระบบนิเวศและความหลากหลาย ทางชีวภาพ
0
เป้าหมายปี 2573: ศูนย์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน อย่างรับผิดชอบคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการอบรมจรรยาบรรณทางธุรกิจ และประเมินข้อกำหนดความยั่งยืนดาวน์โหลดเอกสาร